วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ใบงานที่ 2 รูปแบบขององค์กรโปรดลองอีกครั้ง ปิดคำเตือนธุรกิจ

ใบงานที่ 2 รูปแบบขององค์การธุรกิจ
11.    การประกอบการโดยเจ้าของคนเดียว หมายถึง กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินเอง
ทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไรก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการ
ขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก
22.    ห้างหุ้นส่วน หมายถึง กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่2คนขึ้นไปเป็นเจ้าของ โดยตกลงร่วงลงทุนกัน ซึ่งจะลงทุนเป็นเงินสด สินทรัพย์อื่นๆ หรือ แรงงานก็ได้ ผู้เป็นหุ้นส่วนจะตกลงทำสัญญาจัดตั้งเป็นห้างหุ่นส่วน สัญญานี้อาจทำด้วยวาจา หรือ เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
33.แฟรนไชส์ หมายถึง  สัมปทาน ดังนั้น กิจการแฟรนไชส์ อาจเรียกอีกอย่างว่า ธุรกิจสัมปทาน คือธุรกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล 2 กลุ่มขึ้นไปหรือมากกว่า ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบต่างกัน แต่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันในระบบธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์จะกระจายสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
44.    รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การของรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐบาลมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50 มีการบริหารงานอยู่ระหว่าง
ระบบราชการและระบบธุรกิจ
55.การร่วมค้า หมายถึง การร่วมธุรกิจของธุรกิจหรือบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำสัญญาที่จะร่วมทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน ทรัพย์สิน ที่ดิน อาคาร การผลิต เทคโนโลยี บุคลากร หรืออื่นๆภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาร่วมค้า โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน
66. สหกรณ์ หมายถึง องค์การปกครองตนเองของบรรดาบุคคลซึ่งรวมกลุ่มกันโดยความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน แ ละควบคุมตามหลักประชาธิปไตย"


ใบงานที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ
1.ธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการโดยมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน และมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประโยชน์หรือกำไรจากการกระทำกิจกรรมนั้น
ความสำคัญของธุรกิจ
2.จุดมุ่งหมายของการประกอบธุรกิจ
2.1 สามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจการ
2.2 สร้างแนวทางในการหารายได้ใหม่ ๆ
2.3 สนองตอบความต้องการขององค์กร
2.4 สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร
2.5 สร้างรูปแบบใหม่ในการดำเนินธุรกิจขององค์กร
2.6 สร้างความสามารถในการแข่งขันด้วย
ITG
3. ปัจจัยในการประกอบธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่
3.1 คน (Man) ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะธุรกิจต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความคิดของคน
3.2 เงิน (Money) เงินทุนเป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจอีกชนิดหนึ่งที่ต้องนำมาใช้ในการลงทุนเพื่อให้เกิดการประกอบธุรกิจ
3.3 วัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) ในการผลิตสินค้าต้องอาศัยวัตถุดิบในการผลิตค่อนข้างมาก
3.4 วิธีปฏิบัติงาน (Method) เป็นวิธีการในการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้องมีการวางแผนและควบคุม เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
4.สภาพแวดล้อมทางธุรกิจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
                - ปัจจัยภายใน   เป็นแรงผักดันภายในการจัดการที่มีอิทธิพลในการจัดและดำเนินการทางธุรกิจ
                - ปัจจัยภายนอก  เป็นปัจจัยนอกที่ธุรกิจไม่สามารถดำเนินการควบคุมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการได้ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถกำหนดขอบเขตได้อย่างชัดเจน
5. การบริการ หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ หรือการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้มาใช้บริการจะต้องมีหลักยึดถือปฏิบัติ มิใช่ว่า การให้ความช่วยเหลือ หรือการทำประโยชน์ต่อผู้มาใช้บริการ จะเป็นไปตามใจของเรา ผู้ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ โดยทั่วไปหลักการให้บริการมีข้อควรคำนึง ดังนี้
                1.การสอดคล้องตรงตามความต้องการ ของผู้รับบริการ
                2.ทำให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ
                3.ปฏิบัติโดยถูกต้องสมบูรณ์ครบถ้วน
                4.เหมาะสมแก่สถานการณ์
                5.ไม่ก่อผลเสียแก่บุคคลอื่นๆ
6. กำไร หมายถึง  ส่วนแตกต่าง ระหว่างรายได้ กับต้นทุนโดยจะต้องหักค่าใช้จ่าย ต่างๆ ทั้งหมด และต้องมีรายได้มากกว่าต้นทุน
7. การส่งเสริมการขาย หมายถึง การกระตุ้นยอดขายของกิจการ และ การแนะนำสินค้าสู่ลูกค้า ทั้งนี้ยังสืบเนื่องกับ ความพึงพอใจที่ดีของลูกค้า ในการบริโภคหรืออุปโภคสินค้า เพื่อการสร้างเครือข่ายความเป็นไปได้ ในการเลือกบริโภคหรืออุปโภคสินค้านั้นๆ อย่างต่อเนื่อง
8. เศรษฐกิจ หมายถึง การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิต การจำหน่ายและการบริโภค ซึ่งความหมายในทางเศรษฐกิจจะแตกต่าง จากความหมายที่เข้าใจกัน การผลิต คือ การกระทำเพื่อให้เกิดผลที่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ ,การจำหน่าย คือ การนำผลผลิตไปเสนอต่อผู้ที่มีความต้องการ, การบริโภค คือ การจับจ่ายใช้สอยรวมถึงการรับประทานด้วย เศรษฐกิจจะเน้นที่ราคาหรือเงิน ดังนั้นเมื่อพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจจึงต้องเกี่ยวข้องกับราคาหรือเงินเสมอ
9. ผู้ประกอบการ หมายถึง เจ้าของกิจการ (Business Owner) หรือบุคคลที่จัดตั้งองค์กรธุรกิจขึ้นเพื่อหวังผลกำไร เป็นบุคคลที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ และสามารถหาช่องทางที่จะสร้างธุรกิจของตนเองโดยยอมรับความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้น ผู้ที่มุ่งหวังจะเป็นผู้ประกอบการต้องพิจารณาถึงปัญหา ความท้าทาย ความไม่แน่นอนในการทำธุรกิจได้
10. คุณสมบัติ ของผู้ประกอบการ ที่สำคัญได้แก่
                - มีความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จ
                - มีความมั่นใจในตนเอง
                - มีแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจของตนเองอย่างชัดเจน
                - มีแผนงานที่เป็นระบบ
                - มีความสามารถในการบริหารการเงิน
                - มีความสามารถทางการตลาด
                - มีความสามารถมองเห็นสภาพของการแข่งขันในอนาคตได้
                - มีแหล่งสนับสนุนที่ดี
                - มีทักษะในการประสานงาน
                - มีการจัดองค์กรที่เหมาะสม